Bangpakok Hospital

ถ้ามีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร หรือแพ้วัคซีน ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไหม?

22 มิ.ย. 2564



รวมถาม-ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร หรือแพ้วัคซีน 

Q: มีประวัติ “แพ้อาหาร” สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?

A: ผู้ที่เคยมีประวัติแพ้อาหาร อาทิอาหารทะเล นม ไข่ ถั่ว แป้งสาลี และอาหารอื่น สามารถฉีดวัคซีนได้ตามปกติ


Q: มีประวัติ “แพ้ยา” สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?

A: ผู้ที่มีประวัติแพ้ยายาปฏิชีวนะ (เช่น ยาเพนนิซิลิน ยาซัลฟา เป็นต้น)ยาแก้ปวดลดไข้ (เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น) , ยารักษาโรคเกาต์ , แพ้ยากันชักหรือแพ้ยาชนิดอื่นและมีประวัติแพ้สารทึบรังสี (Radiocontrast media) สามารถฉีดวัคซีนได้ตามปกติและควรสังเกตอาการจนครบ 30 นาทีหลังจากฉีดวัคซีนในสถานพยาบาลที่รับบริการ



Q: มีประวัติ “แพ้วัคซีน” สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?

A: ผู้ที่เคยแพ้วัคซีนป้องกันโรคชนิดใดชนิดหนึ่งแบบรุนแรงมาก่อนและคนที่เคยแพ้วัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบรุนแรง หรือมีลมพิษหลังฉีดควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน เพื่อรับการประเมินและดูแลอย่างเหมาะสมในการฉีดวัคซีน

“อาการแพ้รุนแรง หมายถึง อาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันภายใน 2 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน (ส่วนใหญ่เกิดภายใน30 นาที หลังฉีดวัคซีน) เช่น ผื่นลมพิษขึ้น หรือมีอาการบวมของปากและเปลือกตา”

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย







Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.