Bangpakok Hospital

จัดสรรโภชนาการให้ลูกน้อย ลดความเสี่ยงเรื่องเด็กอ้วน

2 เม.ย. 2564



สาเหตุโรคเด็กอ้วน

โรคเด็กอ้วนเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุโดยมาจากทั้งปัยจัยที่เกิดจากภายนอกและภายใน โดยส่วนใหญ่ปัจจัยภายนอกจะเกิดจากการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันที่เร่งรีบกันมากขึ้น มีพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นความสะดวกรวดเร็วเป็นหลัก กินเยอะขึ้น และ ไม่ค่อยออกกำลังกาย ทางด้านปัจจัยภายในส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของทางด้านพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวอ้วน หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น  Growth hormone deficiency (โรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต) , Hypothyroid (โรคไทรอยด์ต่ำ) , Cushing syndrome (ภาวะการหลั่งสารเสตียรอยด์ในร่างกายมากผิดปกติ) เป็นต้น

วิธีการสังเกตได้ง่ายๆสำหรับเด็กที่เป็นโรคอ้วน คือ ถ้าลูกน้อยกินเยอะส่วนใหญ่มักจะมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายควบคู่กันไปด้วย เช่น ความสูงของเด็กจะเพิ่มขึ้นแต่ถ้าอ้วนจากเป็นโรคอย่างอื่น มักจะเตี้ย หรือมีความผิดปกติอื่นให้เห็นร่วมด้วย หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าบุตรหลานเป็นโรคอ้วนหรือไม่ และ เกิดจากสาเหตุอะไร ลองขอรับคำปรึกษาและแนะนำจากแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและแนะนำรักษาได้อย่างถูกวิธี

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของเด็กอ้วนเกิดขึ้นได้ทุกในระบบของร่างกาย

  1. ด้านระบบประสาทและสมอง  ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ความดันในสมองสูง ตาอาจพร่ามัว
  2. ด้านระบบทางเดินอาหาร  ทำให้มีไขมันไปเกาะตับ เกิดตับอักเสบ จนถึงตับวายได้
  3. ด้านระบบทางเดินหายใจ  มีอาการนอนกรน ถ้าเป็นมากอาจมีภาวะหยุดหายใจ ซึ่งอันตรายต้องรีบเข้ารับการรักษา
  4. ด้านระบบหลอดเลือด ทำให้เกิดความดัน และมีไขมันในเลือดสูง เสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ
  5. ด้านระบบต่อมไร้ท่อ  ทำให้เกิดโรคเบาหวาน 
  6. ด้านผิวหนัง พบมีการติดเชื้อราตามข้อพับต่างๆ ได้ง่ายเนื่องจากมีความชื้นสะสมในบริเวณดังกล่าว
  7. ด้านปัญหาสุขภาพจิต มักไม่มั่นใจในตัวเองเวลาเข้าสังคม และอาจมีภาวะซึมเศร้า
  8. ด้านกระดูก  มีอาการมีปวดขาและขาอาจโก่งได้ เนื่องจากการรับน้ำหนักของร่างกาย

คำแนะนำเบื้องต้นในการดูแล “มื้ออาหาร” ของลูกน้อย
  1. ห้ามให้เด็กๆกินขนมตามใจชอบ เช่น ขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารจานด่วน ที่มีคุณค่าทางอาหารไม่มากแต่ให้พลังงานสูง ทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
  2. ควรจัดเตรียมด้านโภชนาการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก
  3. ทำเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม และ เพิ่มผักผลไม้ทุกมื้ออาหาร
  4. ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค
  5. เด็กวัยเรียน 6 -12 ปี ควรได้รับพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี คือ ข้าว หรือ แป้ง 8 ทัพพี ,เนื้อสัตว์ 6 ช้อนกินข้าว ,ผัก 12 ช้อนกินข้าว ,ผลไม้ 3 ส่วน เด็กวัยเรียน ต้องการอาหารเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมอง ปริมาณพลังงานโดยประมาณที่เด็กวัยเรียนควรได้รับใน 1 วัน

 

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.