Bangpakok Hospital

ทำความรู้จักโรคแอนแทรกซ์ ที่แพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้

2 พ.ค. 2568

เตือนภัย หลีกเลี่ยงการทานเนื้อดิบ เสี่ยงติด โรคแอนแทรกซ์

ขอเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวังในการบริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะการทานเนื้อดิบ หรือเนื้อที่ปรุงไม่สุก เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อร้ายแนงที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้ เชื้อแอนแทรกซ์ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการทานเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ การสัมผัสสัตว์ป่วย หรือการสูดดมฝุ่นดินที่มีสปอร์เชื้อปะปนอยู่ โดยเฉพาะในผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ เช่น คนเลี้ยงสัตว์ คนชำแหละ หรือเกษตรกร เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกเท่านั้น และหลีกเลี่ยงการสัมผัสซากสัตว์ หรือเนื้อสัตว์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื้อถือ หากพบสัตว์เสียชีวิตที่ผิดปกติในพื้นที่ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ไม่ควรจัดการด้วยตัวเอง


โรคติดเชื้อรุนแรงจากสัตว์สู่คน เสี่ยงเสียชีวิตหากไม่รีบรักษา

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคติดต่ออันตรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus anthracis ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะในดิน พื้นที่ชื้น หรือบริเวณที่มีการเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก เช่น โค กระบือ แพะ และแกะ

เชื้อแอนแทรกซ์สามารถสร้างสปอร์ที่มีความทนทานสูงต่อความร้อน ความเย็น สารเคมี และสามารถคงอยู่ในดินได้นานสิบปี เมื่อสัตว์เลี้ยงกินหญ้า หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ ก็อาจติดเชื้อและกลายเป็นแหล่งแพร่กระจายสู่คน

 

วิธีการติดเชื้อในคน

การติดเชื้อแอนแทรกซ์ในคนสามารถเกิดได้จากหลายทาง ได้แก่

  1. ทางผิวหนัง (Cutaneous Anthrax)
  • เกิดจากการสัมผัสเชื้อทางผิวหนัง เช่น ขณะชำแหละสัตว์ ปรุงเนื้อสัตว์ หรือสัมผัสซากสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • พบได้บ่อยที่สุด ราว 95% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด

 

  1. ทางเดินหายใจ  (Inhalation Anthrax)
  • เกิดจากการหายใจเอาฝุ่น หรือดินที่มีสปอร์ของเชื้อเข้าไป
  • รุนแรงและอันตรายถึงชีวิต อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80-90 % หากไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงที

 

  1. ทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Anthrax)
  • เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อโดยไม่ผ่านการปรุงสุก
  • พบได้น้อย แต่อันตรายสูง มีอาการปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

  1. จากสัตว์สู่คนโดยตรง
  • ผ่านการสัมผัสสัตว์ป่วย หรือเสียชีวิตผิดปกติ
  • โดยเฉพาะในอาชีพเกษตรกร คนเลี้ยงสัตว์ คนชำแหละเนื้อสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์

สัตว์พาหะหลัก

สัตว์ที่มักเป็นพาหะของโรคแอนแทรกซ์ ได้แก่

  • โค 
  • กระบือ
  • แพะ
  • แกะ

สัตว์เหล่านี้อาจได้รับเชื้อจากการกินหญ้า น้ำ หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแอนแทรกซ์ และแสดงอาการเสียชีวิตฉับพลัน โดยไม่แสดงอาการล่วงหน้า หรือมีเลือดออกจากจมูก ปาก หรือทวาร

อาการของโรค

อาการขึ้นอยู่กับทางที่ได้รับเชื้อ

  1. แอนแทรกซ์ทางผิวหนัง
  • ผื่นแดง คัน จากนั้นกลายเป็นตุ่มนูนใส
  • แผลมีลักษณะเป็นตุ่มสีดำตรงกลาง (คล้ายบุหรี่จี้)
  • ปวดบริเวณแผล อาจมีไข้ร่วมด้วย

 

  1. แอนแทรกซ์ทางเดินหายใจ
  • มีไข้ ไอ เจ็บคอ 
  • หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก
  • หากลุมลามไปยังปอดหรือสมอง อาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

 

  1. แอนแทรกซ์ทางเดินอาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้องรุนแรง ท้องเสีย อาจมีเลือดปน
  • อาการลุกลามรวดเร็ว หากไม่รักษา อาจเสียชีวิตได้

 

ระยะฟักตัว

  • ในคน ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงจนถึง 7 วัน โดยเฉลี่ย 1-5 วัน
  • ในสัตว์ ระยะฟักตัวสั้นมาก มักเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสซากที่ป่วย หรือเสียชีวิตผิดปกติ
  • ห้ามบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบจากสัตวแพทย์
  • สวมถุงมือ และอุปกรณ์ป้องกันหากต้องสัมผัสสัตว์หรือละอองฝุ่น
  • ล้างมือและร่างกายทันทีหลังสัมผัสสัตว์หรือพื้นดิน
  • ฉีดวัคซีนป้องกันในสัตว์ (โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง)
  • หากพบสัตว์เสียชีวิตผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที
  • หากสงสัยว่าตนเองได้รับเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ทันที



Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.