Bangpakok Hospital

ภาวะต่อมหมวกไตล้า โรคที่อาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

7 ก.ค. 2566


ในปัจจุบันใครหลายๆ คนใช้ชีวิตเร่งรีบจนเป็นความเคยชิน ทำให้บ่อยครั้งร่างกายส่งสัญญาณอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย อดทนต่อความเครียดที่เข้ามาในแต่ละวัน มารู้ตัวอีกทีก็เกิดอาการฉับพลันที่นำไปสู่ “ภาวะต่อมหมวกไตล้า” ซึ่งภาวะนี้คนจะไม่ค่อยรู้จักหรือคุ้นหู แต่ว่าพบได้ค่อนข้างบ่อยในบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย และต่อมหมวกไตมีหน้าที่อะไร แล้วถ้าเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าจะส่งผลเสียอย่างไรต่อร่างกาย วันนี้แอดมินมีคำตอบมาให้กันค่ะ 


ทำความรู้จักกับต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิดรวมถึงคอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dehydroepiandrosterone-DHEA)  ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด โดยต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด เพื่อปรับสมดุลของร่างกายหากร่างกายต้องเผชิญกับความเครียดบ่อยๆ ก็จะทำให้ต่อมหมวกไตต้องหลั่งคอร์ติซอลออกมาสู้กับความเครียดอยู่ตลอดเวลา นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ต่อมหมวกไตทำงานหนักเกินไปจนเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้

 

อาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า

  • ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย อยากนอนตอนกลางวัน
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ชอบทานของหวาน น้ำตาล
  • อาการดีขึ้นเมื่อกินของหวาน
  • ติดกาแฟ
  • ชอบกินเค็ม
  • หน้ามืดวิงเวียน เวลาลุกนั่งเปลี่ยนท่า
  • ผิวแห้ง หมองคล้ำ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • โรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้ง่าย
  • เป็นหวัดบ่อย
  • น้ำหนักขึ้นง่าย

วิธีการรักษาภาวะหมวกไตล้า

  • นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม
  • รับประทานอาหารเช้าก่อน 10.00 น. (หลัง 10.00 น. ระดับ Cortisol จะลดลง ทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ)
  • รับประทานมื้อเล็กๆ และบ่อยๆ แทนการทานอาหารมื้อหลักๆ เพียง 1-2 มื้อ
  • ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง หากออกกำลังกายหนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
  • หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว
  • ทานอาหารเสริมบางชนิด สำหรับคนที่รับประทานอาหารแล้วได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับสารอาหารที่ร่างกายต้องการ หรือมีภาวะที่ขาดสารอาหารบางชนิด อาจต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมตามที่แพทย์สั่ง

 
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.