Bangpakok Hospital

วิธีรับมืออาการแพ้ท้อง ที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้

21 ต.ค. 2564

ลีน
อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับแม่ตั้งครรภ์ โดยจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เหม็นกลิ่นอาหาร ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หรือประมาณ 6 สัปดาห์นับจากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจะค่อยๆดีขึ้น
ลีนนอก
ซึ่งอาการแพ้ท้องจะเกิดจากระดับฮอร์โมนที่ชื่อว่า HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ในร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้มีอาการแพ้ท้อง

แม้ว่าอาการแพ้ท้องจะเป็นอาการที่ไม่อันตรายและเป็นธรรมชาติของคุณแม่ทั้งหลาย แต่บางครั้งก็ทำลายการพักผ่อนในแต่ละวันของคุณแม่ ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาจึงจำเป็นที่ต้องหาวิธีการรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด เพื่อให้คุณแม่ทั้งหลายได้มีการพักผ่อนกันอย่างเต็มที่

วิธีรับมือกับอาการแพ้ท้อง

1. ดื่มน้ำให้เยอะๆ
ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น จะสามารถช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้า อาการบวม วิงเวียนศีรษะของอาการแพ้ท้องลงได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะดื่มน้ำผลไม้เพื่อให้ทารกในครรภ์ยังได้รับประโยชน์จากน้ำที่คุณแม่ดื่มเข้าไปอีกด้วย

2. การรับประทานอาหาร
เครื่องดื่มพวกชา สมุนไพรเพิ่มความสดชื่น อย่าง ชา ขิง หรือน้ำขิงสด เพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาการวิงเวียงศีรษะ และบำรุงเลือด พร้อมกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ เลือกอาหารย่อยง่าย เพื่อป้องกันท้องอืดแน่นท้อง ทานอาหารประเภทโปรตีน และหลีกเลี่ยงอาหารที่มัน หรือรสเผ็ดจัด หากคุณแม่อยากทานอาหารรสเปรี้ยวให้เลือกทานเป็น ยำ สลัด หรือผลไม้สดแทนของดอง

3.พักผ่อนให้เพียงพอ
ร่างกายจะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ จะมีความรู้สึกว่าต้องการพักผ่อน เพื่อให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานอย่างเป็นสมดุล หากอยู่ในช่วงแพ้ท้องจะเกิดความไม่สบายตัวได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงความร้อน สภาพแวดล้อมที่มีแต่มลภาวะ เพราะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้วิงเวียน ควรสวมใส่เสื้อผ้าสบายตัว คุณแม่ควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำดีที่สุด และพักผ่อนช่วงกลางวัน

4. การเดิน
การเดินจะสามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ และช่วยลดอาการจุกเสียดต่างๆที่เกิดขึ้น

5. ฝึกสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด
สามารถช่วยลดความกังวล ลดความเครียดของคุณแม่ลงได้ คุณแม่ควรหาเวลาทำจิตใจให้สงบ ทุกเช้าควรนั่งสมาธิ เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย และปรับสภาพจิตใจให้สู้กับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในร่างกาย

6. วิตามินอาหารเสริม
โดยปกติคุณหมอจะให้วิตามินบำรุงร่างกายให้รับประทานอยู่แล้ว หากคุณแม่ต้องการรับประทานเสริมเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์

หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์
1. อาการแพ้ท้องมากจนน้ำหนักลดซูบผอมลง
2. มีเลือดปนออกมากับอาเจียน
3. เสียน้ำมากจากการอาเจียน และทั้งวันไม่สามารถดื่มน้ำได้
4. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ และมีสีเหลืองเข้ม
5. มีอาการหน้ามืดอยู่บ่อยครั้ง
6. รู้สึกใจสั่นหรือหัวใจเต้นแรงมาก

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.