ทันตกรรมโรคเหงือก

รายละเอียดเกี่ยวกับบริการ
โรคเหงือกเกิดจากคราบแบคทีเรียที่เกาะบริเวณเหงือกและฟัน หากไม่มีการทำความสะอาดกำจัดออกไป อย่างถูกวิธี(การแปรงฟัน/ การใช้ไหมขัดฟัน/ขูดหินปูน)คราบแบคทีเรียเหล่านี้จะทำงายเนื้อเหงือกหุ้มรากเนื้อเยื่อที่รองรับฟันให้ติดกับ กระดูกขากรรไกรและกระดูกฟัน โดยการอักเสบนี้เกิดจากสารพิษที่ขับออกมาจาก แบคทีเรีย ที่ติดอยู่กับแผ่นคราบฟัน ( Dental Plaque ) ที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟันทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ บวม แดง และยังทำให้เนื้อเยื่อที่รองรับฟันให้ติดกับกระดูกขากรรไกรฉีกขาดได้
ลักษณะอาการ
โรคเหงือกอักเสบในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการใด ๆ เมื่อเป็นมากขึ้นอาการที่เริ่มแสดงออก คือเวลาแปรงฟันจะมีเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการที่จะพบต่อมา คือ
1. มีกลิ่นปาก
2. เหงือกจะมีสีแดงคล้ำ, ปวดและเจ็บบริเวณเหงือก
3. เหงือกจะเริ่มแยกตัวออกจากฟัน คนไข้จะรู้สึกว่าฟันของตนเองยาวขึ้น
4. ฟันเริ่มโยกเพราะมีการละลายของกระดูกที่รองรับฟัน
5. เหงือกเป็นหนอง
ผู้ที่ควรตรวจ2. เหงือกจะมีสีแดงคล้ำ, ปวดและเจ็บบริเวณเหงือก
3. เหงือกจะเริ่มแยกตัวออกจากฟัน คนไข้จะรู้สึกว่าฟันของตนเองยาวขึ้น
4. ฟันเริ่มโยกเพราะมีการละลายของกระดูกที่รองรับฟัน
5. เหงือกเป็นหนอง
บุคคลที่มีความเสี่ยงควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือก ได้แก่
1. คุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงได้แก่ฮอร์โมนโกนาโดโทรพิน (Gonadotropins) และเอสโตรเจนและโปรเจสติน มีการศึกษาที่พบความสัมพันธ์ของเชื้อแบคทีเรีย ชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ สัมพันธ์กับภาวะการตั้งครรภ์ นั่นคือมีการศึกษาที่พบเชื้อ Prevotella Intermedia ในปริมาณมาก ในหญิงตั้งครรภ์ / โดยมีการให้ความเห็นว่า ฮอร์โมนที่หลั่งออกทางร่องเหงือก อาจเป็นตัวเร่งให้เชื้อมีการเจริญเติบโต ภาวะเหงือกอักเสบจากการตั้งครรภ์ จะมีอาการแสดงให้เห็น คือ มีเหงือกบวมแดง เลือดออกง่าย โดยการบวมนี้ มักพบบวมเป็น กระเปราะได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
2. ผู้ป่วยที่รักษาความสะอาดช่องปากได้ไม่ดี
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดัน เนื่องจากได้รับยากลุ่ม Channel Blocker /Methyldopa Propranolol / Sulfonylurea Thiazide เนื่องจากการได้รับยาเหล่านี้เป็นเวลานานทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
4. ผู้ป่วยโรคหัวใจ
อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์2. ผู้ป่วยที่รักษาความสะอาดช่องปากได้ไม่ดี
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดัน เนื่องจากได้รับยากลุ่ม Channel Blocker /Methyldopa Propranolol / Sulfonylurea Thiazide เนื่องจากการได้รับยาเหล่านี้เป็นเวลานานทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
4. ผู้ป่วยโรคหัวใจ
ห้องทันตกรรมและกรรมวิธีการรักษามาตรฐานระดับสากลรับรองมาตราฐานโดย JCI/HA วัสดุที่มีคุณภาพสูง เทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย ได้รับการฆ่าเชื้อโรคอย่างมีมาตรฐานทุกขั้นตอน ช่วยให้การให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด
การเตรียมตัว
โทรสอบถาม วัน - เวลา ออกตรวจแพทย์เฉพาะทางและทำการลงเวลานัดหมาย
ขั้นตอนการรักษา
1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและใช้ไหมขัดฟัน ( Dental Floss ) ทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน
2. ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันฟันผุ
3. แปรงฟันให้ถูกวิธี โดยทันตแพทย์ที่ดูแลท่านอยู่จะช่วยแนะนำท่านได้
4. ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่มและหมั่นตรวจสภาพของแปรงสีฟันของท่าน ถ้าขนแปรงเริ่มบานออกหรือเปลี่ยนรูป ควรเปลี่ยนใหม่ เมื่อแปรงฟันเสร็จควรวางแปรงสีฟันในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การที่ขนแปรงเปียกชื้นตลอดเวลาจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้
5. ควรแปรงลิ้นของท่านด้วยขณะแปรงฟัน
6. พบทันตแพทย์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อรับการขูดหินปูนและตรวจดูสภาพช่องปาก
1. ระยะเริ่มแรกของโรคเหงือก สามารถรักษาได้ด้วยการแปรงฟันหรือการใช้ไหมขัดฟัน การดูแลสุขภาพปากและฟันที่ดีจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดคราบแบคทีเรียสะสม
2. การทำดูแลทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเดียวที่จะขจัดคราบแบคทีเรียที่สะสม และแข็งตัว โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนที่แข็งตัวออกจากฟันและร่องเหงือก ถ้ามีอาการมาก อาจจะต้องทำการรักษารากฟัน ซึ่งจะช่วยดูแลรากฟันไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย โรคเหงือกระยะเริ่มแรกสามารถรักษาได้ก่อนที่จะลุกลาม ถ้ามีการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ถ้ามีอาการรุนแรง จะต้องทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คำแนะนำ2. การทำดูแลทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเดียวที่จะขจัดคราบแบคทีเรียที่สะสม และแข็งตัว โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนที่แข็งตัวออกจากฟันและร่องเหงือก ถ้ามีอาการมาก อาจจะต้องทำการรักษารากฟัน ซึ่งจะช่วยดูแลรากฟันไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย โรคเหงือกระยะเริ่มแรกสามารถรักษาได้ก่อนที่จะลุกลาม ถ้ามีการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ถ้ามีอาการรุนแรง จะต้องทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและใช้ไหมขัดฟัน ( Dental Floss ) ทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน
2. ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันฟันผุ
3. แปรงฟันให้ถูกวิธี โดยทันตแพทย์ที่ดูแลท่านอยู่จะช่วยแนะนำท่านได้
4. ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่มและหมั่นตรวจสภาพของแปรงสีฟันของท่าน ถ้าขนแปรงเริ่มบานออกหรือเปลี่ยนรูป ควรเปลี่ยนใหม่ เมื่อแปรงฟันเสร็จควรวางแปรงสีฟันในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การที่ขนแปรงเปียกชื้นตลอดเวลาจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้
5. ควรแปรงลิ้นของท่านด้วยขณะแปรงฟัน
6. พบทันตแพทย์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อรับการขูดหินปูนและตรวจดูสภาพช่องปาก
ค่าใช้จ่าย
สามารถสอบถามรายละเอียดก่อนรับการรักษาได้ที่ศูนย์ทันตกรรม
สามารถสอบถามรายละเอียดก่อนรับการรักษาได้ที่ศูนย์ทันตกรรม
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02 -109-1111 ต่อ 1210 ,1211
Call Center : 1745